วัดสระลงเรือ
สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนกลาง คือ น่าจะมีอายุประมาณ 400 - 450 ปี
หรือมากกว่านั้นเล็กน้อย ไม่ปรากฏหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรใด ๆ เกี่ยวกับวัด
ดังนั้น จึงไม่ทราบชื่อเดิมของวัด ปี และบุคคลที่ก่อสร้าง
หลักฐานที่หลงเหลืออยู่ก็ได้แก่ โบราณวัตถุต่าง ๆ อันประกอบด้วย
พระเจดีย์และพระปรางค์แบบก่ออิฐถือปูน สูงประมาณ 10 เมตร
อย่างละ 1 องค์ ตั้งอยู่คู่กัน พระเจดีย์ด้านทิศใต้และพระปรางค์ด้านทิศเหนือ
ซึ่งคาดว่าน่าจะจำลองมาจากวัดมหาธาตุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ด้านหน้าของพระเจดีย์และพระปรางค์
เดิมมีอาคารแบบก่ออิฐถือปูนขนาดประมาณ 6 X 12 เมตร
อยู่ในสภาพเกือบสมบูรณ์ (ยกเว้นหลังคาที่คงเสื่อมสภาพและอันตรธานไปตามกาลเวลา)
อาคารนี้เข้าใจว่าน่าจะเป็นพระวิหารและน่าจะเป็นประธานวัตถุของวัด
โดยหันหน้าไปทางทิศตะวันออก และภายในอาคารเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปปูนปั้น
ปางมารวิชัย
และด้านหน้าของอาคารเยื้องไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเล็กน้อยเป็นที่ตั้งของสระน้ำรูปทรงสี่เหลี่ยมจตุรัส
ขนาดประมาณ 60 X 60 เมตร (ปัจจุบันขยายเป็นเนื้อที่ประมาณ 15 ไร่
เป็นที่ตั้งของเรือสุพรรณหงส์จำลองใหญ่ที่สุดในโลก)
¿Le gustaría comprar replicas relojes baratos en el Reino Unido? Este sitio web puede ofrecerle ayuda. What kinds of online UK richard mille replica are worth having? Perfect fake Tag Heuer watches with cheap price and high quality.
ที่ตั้งของวัดอยู่บนที่ดอนสูง
ซึ่งพาดยาวมาจากทิศตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือ แล้วล้อมรอบด้วยที่ราบลุ่มต่ำ
ซึ่งในตอนหลังได้ใช้เป็นที่ทำนาของชาวบ้าน บริเวณใกล้เคียงก็เป็นที่ดอนและที่ราบลุ่มต่ำสลับกันไปเป็นระยะ
ๆ และทางทิศตะวันออกของวัดเป็นลำห้วย
ซึ่งในช่วงน้ำหลากจะมีน้ำไหลลงลำน้ำจรเข้สามพัน
กอรปกับวัดและชุมชนแห่งนี้ห่างจากเมืองโบราณอู่ทองเพียงประมาณ 12 - 13 กิโลเมตรเท่านั้น
บริเวณนี้จึงเหมาะที่จะตั้งเป็นชุมชน และด้วยเหตุนี้
บริเวณนี้จึงมีชุมชนตั้งมาแต่โบราณ อย่างน้อยตั้งแต่สมัยในสมัยอยุธยา
ดังเห็นได้จากหลักฐานประเภทเครื่องมือ เครื่องใช้
และเครื่องประดับสมัยโบราณที่เมื่อประมาณ 30 - 50 ปีก่อนหน้านี้ชาวบ้านได้พบเสมอ
ๆ เวลาไถไร่ไถนาของตนในบริเวณรอบ ๆ วัด และห่างจากวัดไปทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ1 - 2 กิโลเมตร
เคยมีซากเจดีย์และอาคารก่อด้วยอิฐอย่างน้อยอีก 2 จุด
ซึ่งตอนหลังได้ถูกชาวบ้านรื้อถอนและไถกลบไป
สันนิษฐานว่า
เช่นเดียวกับวัดและชุมชนร่วมสมัยในพื้นที่ใกล้เคียง
วัดและชุมชนเหล่านี้คงจะสูญหายไปในคราวที่พม่ายกทัพเข้าตีกรุงศรีอยุธยา
เพราะพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีเป็นเส้นทางเดินทัพของพม่าก่อนที่จะเคลื่อนทัพผ่านจังหวัดสุพรรณบุรีไปยังพระนครศรีอยุธยา
ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่คงจะหลบหนีการรุกรานของกองทัพพม่า
และกระจัดกระจายหรือเคลื่อนย้ายไปอยู่ในที่อื่น วัดสระลงเรือจึงถูกทิ้งร้างไป
วัดสระลงเรือน่าจะถูกทิ้งร้างไปประมาณ150 - 160 ปี
จนกระทั่งเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2470 ชาวบ้านจากถิ่นใกล้เคียงได้อพยพเข้ามาทำไร่นาและหาของป่าในบริเวณดังกล่าว
ได้มาพบซากโบราณวัตถุ ชาวบ้านเห็นที่ตั้งของวัดมีความเหมาะสมที่จะเป็นชุมชน
โดยเฉพาะการมีสระน้ำ จึงได้เข้ามาตั้งชุมชนบริเวณนี้อีกครั้ง
และได้ช่วยกันหักร้างถางพงบริเวณซากโบราณสถานดังกล่าว เล่ากันว่าในตอนนั้น
ตัวอาคารมีต้นไม้ปกคลุมหนาทึบ และต่อมาก็ได้ช่วยกันสร้างวัด นิมนต์พระมาจำพรรษา
รวมทั้งได้มีการทำหลังคาใหม่ให้กับพระอุโบสถ และได้ตั้งชื่อวัดขึ้นว่า"วัดสระลองเรือ"เพราะสมัยนั้นบริเวณนี้มีต้นไม้ขนาดอยู่มากจึงมีคนมาตัดต้นไม้ขุดเรือแล้วนำไปทดลองในสระน้ำชาวบ้านจึงเรียกว่าสระลองเรือ
แต่ด้วยสำเนียงการพูดที่เหน่อและห้วนสั้นทำให้เพี้ยนเป็น
"สระลงเรือ"อย่างในปัจจุบัน
Scegli il miglior sito online di orologi replica del 2023
ต่อมา
นายจำเนียร ใคร่ครวญ ซึ่งเป็นชาวบ้านสระลงเรือโดยกำเนิดแต่ได้ไปทำธุรกิจในต่างถิ่น
ได้เข้ามากราบขอพรจากหลวงพ่อใหญ่องค์ดำ (พระพุทธอนันตภูมิสุคคุตโต)
ซึ่งในปัจจุบันประทับอยู่ในวิหารแก้ว หน้าพระอุโบสถวัดสระลงเรือ
หลังจากนั้นชีวิตของนายจำเนียร ใคร่ครวญ ก็ได้ประสบความสำเร็จตามที่ได้ตั้งใจไว้ทุกประการ
ต่อมานายจำเนียร ใคร่ครวญจึงได้สร้าง และบูรณะวัดสระลงเรือให้เป็นแหล่งวัฒนธรรมที่สำคัญของจังหวัดกาญจนบุรี
โดยเฉพาะการสร้างพระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ อนุสรณ์สถานลานเจดีย์ วิหารแก้ว เรือสุพรรณหงส์จำลองใหญ่ที่สุดในโลก
และกำลังก่อสร้างรูปเหมือของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมฺรํงสี)
องค์ใหญ่ที่สุดในโลกขึ้นไว้อีกองค์หนึ่ง โดยให้เหตุผลว่า
ตนได้รับพรจากหลวงพ่อใหญ่องค์ดำ จึงได้ตั้งใจสร้างถาวรวัตถุเหล่านี้เพื่อทดแทนแผ่นดินบ้านเกิด
และทดแทนบุญคุณหลวงพ่อใหญ่องค์ดำ (พระพุทธอนันตภูมิสุคคุตโต)
ที่ประทานมาให้แก่ตัวของนายจำเนียร ใคร่ครวญ และครอบครัว |